รักแร้เปียกถือว่าเป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คนโดยเฉพาะหนุ่ม ๆ สาว ๆ ซึ่งส่งผลเสียต่อบุคลิกโดยตรง ทำให้ขาดความมั่นใจ นอกจากจะดูไม่น่ามองแล้ว เหงื่อที่ไหลออกมายังเป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นตัวอีกด้วย หากใครที่กำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อยู่ อย่าปล่อยให้รักแร้เปียกของคุณมาทำให้เสียความมั่นใจเลย ลองมาดูวิธีลดเหงื่อใต้รักแร้กันดีกว่า ว่ามีวิธีไหนบ้าง ใครสนใจวิธีไหน สะดวกแบบไหนก็เลือกใช้กันได้เลย
วิธีลดเหงื่อใต้รักแร้
- อาบน้ำเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง คุณควรจะอาบน้ำหลังเล่นกีฬาเพื่อเป็นการล้างเหงื่อไคลและอาบอีกครั้งก่อนเข้านอน
- ไม่ควรสวมเสื้อผ้าคับเกินไป เสื้อผ้าที่คับพอดีตัวมากเกินไปจะทำให้มีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีการระบายอากาศได้ไม่ดีพอ ทางที่ดีคุณควรเลือกขนาดเสื้อผ้าหรือชุดชั้นในที่เมื่อสวมใส่แล้วเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกสบาย มีช่องว่างเหลือระหว่างร่างกายและเสื้อผ้าบ้าง
- เปลือกมะนาวถูรักแร้ ให้ฝานเปลือกมะนาวบาง ๆ บีบน้ำออก แล้วเอาเปลือกมะนาวมาถูกับรักแร้ รอให้แห้งสักพัก แล้วตามด้วยโรลออนก็พอจะช่วยได้ สำหรับผู้ที่เหงื่อออกไม่เยอะมาก
- เลือกซื้อโรลออนที่มีสารระงับเหงื่อโดยเฉพาะ (Antiperspirant) เพราะมันจะช่วยลดการเกิดเหงื่อโดยไปทำปฏิกิริยาให้เกิดการอุดตันในท่อเหงื่อและลดการไหลของเหงื่อได้ ทำให้ใต้วงแขนของคุณแห้งสบาย
- ใช้โรลออนสำหรับลดเหงื่อโดยเฉพาะ สำหรับผู้ที่มีเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ โรลออนธรรมดาอาจจะเอาไม่อยู่ ให้คุณลองเปลี่ยนมาใช้โรลออนสำหรับทาใต้วงแขนเพื่อรักษาอาการเหงื่อออกมากเกินไป
- เลเซอร์ลดเหงื่อ เป็นวิธีการใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุส่งความร้อนลงไปทำลายต่อมเหงื่อให้หยุดทำงานถาวร คลื่นวิทยุที่ส่งเข้าไปจะไปจับกับโมเลกุลของน้ำที่อยู่ในต่อมเหงื่อ ทำให้เซลล์ของต่อมเหงื่อถูกทำลาย จนไม่สามารถผลิตเหงื่อออกมาได้ หากใครที่สนใจวิธีนี้ สามารถปรึกษาคลินิกเสริมความงาม คลินิกศัลยกรรมได้ทุกแห่ง
- miraDryอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่รักษาโดยใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย เป็นวิธีการใช้ปืนไมโครเวฟเพื่อทำลายต่อมเหงื่อใต้วงแขนอย่างถาวร โดยวิธีนี้จะออกแบบมาเพื่อใช้กับต่อมเหงื่อใต้วงแขนหรือรักแร้เท่านั้น ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียกับคุณอย่างแน่นอน นอกจากจะช่วยลดเหงื่อและกลิ่นตัวได้แล้ว ยังช่วยกำจัดขนรักแร้ใต้วงแขนไปได้ในตัวอีกด้วย หากใครสนใจวิธีนี้ สามารถปรึกษาคลินิกศัลยกรรมได้ที่มีการรับทำ miradry ลดเหงื่อ ลดกลิ่นตัว สนใจสามารถเขาไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมสอบถามราคาได้
- การผ่าตัดต่อมเหงื่อสำหรับผู้ที่เป็นโรคเหงื่อออกมาก (hyperhidrosis) การผ่าตัดต่อมเหงื่อใต้รักแร้ก็อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ผลอย่างชัดเจน โดยศัลยแพทย์จะทำการฉีดยาชา แล้วตัดผิวหนังส่วนที่มีต่อมเหงื่อมากที่สุดของรักแร้ (ขนาด 4 x 1.5 เซนติเมตร) ออกไป ศัลยแพทย์บางท่านอาจใช้เทคนิคการดูดไขมัน (liposuction) เพื่อดูดต่อมเหงื่อออกจากผิวหนังส่วนลึก
บทความแนะนำ ไขมันใต้รักแร้ จากเว็บไซต์ Rattinan.com
สาเหตุของเหงื่อออก รักแร้เปียก เกิดจากสาเหตุจากภายนอก และภายใน
สภาพอากาศที่ร้อน-ร้อนจัดของบ้านเรา
ถือว่าเป็นปัจจัยภายนอก แน่นอนว่าอากาศที่ร้อนจัดย่อมทำให้เหงื่อของเราออกมากเป็นพิเศษ เพราะร่างกายจำเป็นต้องระบายความร้อนออกจากผิวหนังในรูปของเหงื่อเพื่อทำให้อุณหภูมิของร่างกายเย็น ยิ่งอากาศที่ร้อนชื้นยิ่งแย่กว่าเพราะยิ่งจะทำให้ตัวเราเหงื่อออกมากเป็นพิเศษ ดังนั้นหากวันไหนอากาศร้อน เราควรหลีกเลี่ยงการออกไปเผชิญกับสิ่งแวดล้อมภายนอกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
การแต่งตัว
หากเราเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่สวมใส่สบายให้การระบายอากาศที่ดีจะทำให้ผู้สวมใส่ไม่รู้สึกร้อนอบอ้าว ร่างกายจึงเหงื่อออกไม่มาก เสื้อผ้าที่สวมใส่สบายก็คือเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าคอทตอน หรือผ้าเทคโนโลยีชั้นสูงต่างๆ เป็นต้น
พันธุกรรม
ถือว่าเป็นปัจจัยภายในที่มีผลอย่างมาก สำหรับคนที่มีเหงื่อออกมาเป็นพิเศษก็คือ ผลที่มาจากลักษณะทางพันธุ์กรรมนั่นเอง หลายคนเกิดมามีลักษณะร่างกายที่มีอัตราการเมตาบอลิซึมสูงโดยธรรมชาติ เหงื่อจึงมักออกง่าย ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะมีปรากฏให้เห็นตั้งแต่วัยเด็ก ใครที่มีลักษณะพันธุ์กรรมเช่นนี้ก็ต้องหาทางป้องกันแบบเฉพาะหน้าดังที่เราเคยได้แนะนำไปก่อนหน้านี้
ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ
ความผิดปกติของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในภายหลัง ซึ่งมีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นความเครียด วิตกกังวล หรือตื่นเต้น เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้จากภาวะผิดปกติในร่างกายทั้งหลาย เช่น ในภาวะตั้งครรภ์ หมดประจำเดือน ความดัน เบาหวาน หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นต้น
เกิดจากโรคประจำตัว
ซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากโรคประจำตัว ร้ายแรงต่าง ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดอาการเหงื่อออกมาเป็นพิเศษได้ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ต่อมหมวกไตผิดปกติ หลอดเลือดสมองอุดตัน หัวใจขาดเลือด โรคปอดต่าง ๆ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ พาร์กินสัน ไขข้ออักเสบ และโรคติดเชื้อต่าง ๆ