รากฟันเทียม คืออะไร แล้วใครเหมาะที่จะใส่รากฟันเทียม

ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับรากฟัน และต้องการที่จะได้รากฟันใหม่ รากฟันเทียมเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับรากฟัน และรากฟันเทียมเป็นวัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันทำจากไททาเนียมซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการทำฟันเทียมแบบติดแน่น และแบบถอดได้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียม ดูดไขมัน ถือว่าเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับรากฟัน

รากฟันเทียมแบ่งออกเป็นกี่ชนิด

สำหรับชนิดของรากฟันเทียมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้

1. Conventional Implant

คือ การฝังรากเทียมโดยทั่วไปขั้นตอนคร่าว ๆ คือ ทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยพิมพ์ปากและ x-ray    ในบางตำแหน่งอาจจะต้องทำ CT Scan ร่วมด้วยเพื่อทำการวางแผนการรักษา จากนั้นจะนัดหมายผู้ป่วยเพื่อการผ่าตัดเล็กฝังรากเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร หลังจากฝังรากเทียมแล้วจะต้องรอให้รากเทียมและกระดูกยึดติดกันเต็มที่ ประมาณ 3-4 เดือนขึ้นอยู่กับลักษณะของกระดูก โดยทันตแพทย์ก็จะทำฟันเทียมยึดกับรากเทียมต่อไป ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันเทียม ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 1-4 สัปดาห์ ข้อจำกัดในการรักษาจะมีน้อยมากหากวางแผนการรักษาไว้เป็นอย่างดี แต่ที่พบมาก คือผู้มีปริมาณของกระดูกน้อยมาก ๆ ในบริเวณที่จะทำการฝังรากเทียม ทำให้ต้องมีการปลูกกระดูกก่อนหรือในบางรายอาจจะปลูกกระดูกไม่ได้

2. Immediate implant

คือ การฝังรากเทียมทันทีหลังจากทำการถอนฟันธรรมชาติออก ข้อดีของวิธีนี้ คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงานลง ลดการละลายของกระดูก ลดโอการการเกิดเหงือกร่น แต่ตำแหน่งฟันที่เหมาะจะทำด้วยวิธีนี้มักจะเป็นฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันของฟันที่จะถอน และต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดอยู่

3. Immediate loaded implant

คือ การต่อส่วนของทันตกรรมประดิษฐ์ เช่น ครอบฟันไม่ว่าจะเป็นแบบชั่วคราว หรือแบบถาวร ไปที่รากฟันเทียมทันทีที่ทำการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะช่วยร่นระยะเวลาของการรักษาลงไปได้มาก ให้ความสวยงามเนื่องจากคนไข้จะมีฟันอยู่ตลอดเวลา แต่ข้อจำกัดของวิธีนี้มีอยู่มาก

ใครที่เหมาะกับการใส่รากฟันเทียม

อันที่จริงแล้วคนส่วนใหญ่จะสามารถใส่รากฟันเทียม เพื่อทดแทนฟันที่หายไปได้ แต่อาจจะมีบางรายที่แพทย์พิจารณาว่าอาจเป็นอันตราย หรือมีวิธีอื่นที่อาจได้ผลดีกว่า เช่น ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพ กำลังรับประทานยาที่จำกัดทางเลือก มีกระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอ หรือเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ที่มีความเสี่ยงที่รากฟันเทียมจะหลวม และต้องถูกถอดออก ดังนั้นก่อนใส่รากฟันเทียม ทันตแพทย์จะเป็นผู้ตรวจสุขภาพปาก และฟันโดยละเอียด เพื่อมองหาความเป็นไปได้ในการใส่รากฟันเทียม และหาวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาฟัน

การเตรียมตัวเข้ารับการทำรากฟันเทียม

ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม จำเป็นจะต้องได้รับการตรวจและประเมินโดยละเอียดจาก ทันตแพทย์เฉพาะทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังเพราะอาจแก้ไขได้ยากมาก อีกทั้งทันตแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้และความชำนาญ สามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจเรื่องการบดเคี้ยว และขั้นตอนทางทันตกรรมประดิษฐ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาอยู่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ และที่สำคัญผู้ป่วยควรดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดีก่อนเข้ารับการรักษา

อายุการใช้งาน และการดูแลรักษารากฟันเทียม

รากฟันเทียม ทำมาจากไททาเนียมซึ่งมีความคงทนมาก อายุการใช้งานจะอยู่ที่การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย รากฟันเทียมไม่ผุแต่เกิดโรคเหงือกอักเสบได้หากดูแลได้ไม่ดี การดูแลรักษาก็เหมือนการดูแลรักษาฟันธรรมชาติ คือ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน และได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ หากทำทุกอย่างได้ดีรากฟันเทียมก็จะอยู่ได้ไปตลอด

ทำไมเราถึงต้องทำ “รากฟันเทียม”?

การดูแลรากฟันแท้มีข้อจำกัดนอกเหนือจากการดูแลปากและฟันให้สะอาดด้วยการแปรงฟัน เพราะถึงแม้เราจะดูแลรักษาความสะอาดฟันเป็นอย่างดีแล้ว แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น ฟันแตกจากการบดเคี้ยว ฟันแตกจากอุบัติเหตุ หรือแม้แต่กรณีที่เกิดมาแล้วไม่มีฟันในซี่นั้น ๆ หรืออาจจะจัดฟันแล้วเกิดช่องว่างจำเป็นต้องมีฟันเพิ่มเติม เหล่านี้จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการสร้าง “รากฟันเทียม” ขึ้นมาทดแทนรากฟันจริง

รากฟันเทียม คือวัสดุทางทันตกรรมที่มีไว้สำหรับทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไป โดยจะเป็นวัสดุที่ปลูกฝังเข้าไปในกระดูกส่วนที่เคยมีฟันแท้อยู่ ซึ่งรากฟันเทียมจะทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับต่อยอดขึ้นมาเป็นตัวฟันที่นำมาครอบบนแกนของรากเทียมอีกชั้นหนึ่ง ทำให้เราสามารถใช้ฟันบดเคี้ยวได้ หรือหากเป็นฟันหน้าที่เสียหายไปรากฟันเทียมจะช่วยทำให้คนไข้กลับมามีฟันที่มีความใกล้เคียงกับฟันแท้ที่สูญเสียไปได้